Sinovac: บราซิลชี้วัคซีนจีนได้ผล 50.4%

วัคซีน Sinovac ของจีนพบว่าได้ผล 50.4% ในการทดลองทางคลินิกของบราซิล


สารบัญข่าว

วัคซีน Sinovac ของจีนพบว่าได้ผล 50.4% ในการทดลองทางคลินิกของบราซิล

วัคซีนโคโรนาไวรัสที่พัฒนาโดยบริษัท Sinovac ของจีนพบว่าได้ผล 50.4% ในการทดลองทางคลินิกของบราซิล โดยอิงตามผลการวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่โดยนักวิจัย

แสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพน้อยกว่าข้อมูลก่อนหน้านี้อย่างมีนัยสำคัญ - เพียงคาบเส้น 50% ซึ่งจำเป็นสำหรับการอนุมัติตามกฎข้อบังคับ

โดยวัคซีนของจีนเป็นหนึ่งในสองวัคซีนที่รัฐบาลบราซิลได้เตรียมแผนการไว้

ซึ่งบราซิลเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด

Sinovac ซึ่งเป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ในปักกิ่งที่อยู่เบื้องหลัง CoronaVac ซึ่งเป็นวัคซีนตัวตาย มันทำงานโดยใช้อนุภาคของไวรัสที่ถูกฆ่าแล้ว เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสัมผัสกับไวรัสโดยไม่เสี่ยงต่อการตอบสนองของโรคร้ายแรง

หลายประเทศรวมทั้งอินโดนีเซีย, ตุรกี และสิงคโปร์ได้สั่งซื้อวัคซีนดังกล่าวแล้ว

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนักวิจัยจากสถาบัน Butantan ซึ่งดำเนินการทดลองในบราซิลได้ประกาศว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพถึง 78% ต่อผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการ "เบาถึงรุนแรง"

แต่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาพวกเขาเปิดเผยว่าการคำนวณตัวเลขนี้ไม่ได้รวมข้อมูลจากกลุ่ม "การติดเชื้อที่ไม่รุนแรงอย่างมาก" ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนซึ่งไม่ต้องการความช่วยเหลือทางคลินิก

ด้วยการรวมข้อมูลนี้เข้าไปในการคำนวณ อัตราประสิทธิภาพอยู่ที่ 50.4% ในตอนนี้ นักวิจัยกล่าว

แต่ Butantan ยังเน้นย้ำว่าวัคซีนนี้มีประสิทธิภาพ 78% ในการป้องกันในเคสที่ไม่รุนแรงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา และได้ผลถึง 100% ในการป้องกันผู้ป่วยในระดับปานกลางถึงร้ายแรง

โดยการทดลอง Sinovac ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันในประเทศต่าง ๆ

เมื่อเดือนที่แล้วนักวิจัยชาวตุรกีกล่าวว่าวัคซีน Sinovac ได้ผล 91.25% ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้เปิดตัวโครงการฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางไปเมื่อวันพุธกล่าวว่าวัคซีนนี้ได้ผล 65.3% โดยทั้งคู่เป็นผลลัพธ์ชั่วคราวจากการทดลองระยะปลาย

วัคซีนนั้นเปรียบเทียบกันได้หรือไม่?

ตัวเลขล่าสุดของวัคซีนโคโรนาไวรัสของจีนแสดงให้เห็นว่าการเปรียบเทียบวัคซีนนั้นยากเพียงใด

เมื่อมองแบบผิวเผิน ตัวเลขประสิทธิภาพ 50% นั้นไม่ดีเท่ากับ 70% ของ Oxford หรือ Pfizer และ Moderna ที่ 95% แต่การทดลองใช้แตกต่างกันมากในประเทศต่าง ๆ กันไป — จำนวนอาสาสมัครที่ลงทะเบียนจะแตกต่างกันไปอย่างมาก เช่นเดียวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการทดสอบว่าวัคซีนสามารถให้การป้องกันได้มากเพียงใด

ตัวเลขสำหรับประสิทธิภาพนั้นได้มาจากการดูที่จำนวนผู้ที่พัฒนาอาการของโรคโควิดหลังจากได้รับวัคซีน เทียบกับจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบเมื่อได้รับการฉีดวัคซีนหลอก โดยปกติจะขึ้นอยู่กับคนที่มีอาการชัดเจน แต่ในการทดลองของบราซิลนี้ก็มีคนที่ไม่แสดงอาการรวมอยู่ด้วย

ดังนั้น ก็ต่อเมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลทั้งหมดจากการทดลองทั้งหมดของวัคซีนนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงจะสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพที่แท้จริงของมันและเปรียบเทียบกับวัคซีนอื่นได้ ขณะนี้มีเพียงข้อมูลวัคซีน Sinovac ที่จำกัดเท่านั้น และผู้เชี่ยวชาญกล่าวนั่นว่าทำให้ภาพรวมดูสับสน

ในระยะยาวจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิดหลายตัวในการฉีดวัคซีนทั่วโลกและบางชนิดจะมีประสิทธิภาพดีกว่าวัคซีนชนิดอื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ — แต่การให้ความสำคัญอันดับแรกคือการปกป้องผู้คนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

มีความกังวลและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าการทดลองวัคซีนของจีนไม่ได้อยู่ภายใต้การตรวจสอบข้อเท็จจริงและระดับความโปร่งใสในระดับเดียวกันกับประเทศตะวันตก

ทั้งวัคซีน Sinovac และวัคซีนที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและบริษัทยา AstraZeneca ต่างได้ยื่นร้องขอการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานกำกับดูแลในบราซิล

ข่าวล่าสุดเกิดนี้ขึ้นเมื่อบราซิลกำลังเผชิญกับการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันประเทศนี้มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากเป็นอันดับ 3 ของโลกที่กว่า 8.1 ล้านรายรองจากสหรัฐอเมริกาและอินเดีย

แคนเดส พีตต์ บรรณาธิการของ BBC World Service ในอเมริกากล่าวว่าประเทศนี้กำลังประสบกับการระบาดที่ร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ยังไม่ได้มีการประกาศว่าโครงการฉีดวัคซีนจะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่

ความล่าช้าส่วนใหญ่เกิดจากความเหลวแหลกของรัฐบาลและการแบ่งแยกแนวทางในการฉีดวัคซีน ผู้สื่อข่าวของเรากล่าว

อ้างอิง

BBC

By Philippa Roxby, BBC Health reporter

ความเห็นผู้ชมทั่วไป