แบงก์ใหญ่ 8 แห่งต้องเผชิญข้อกล่าวหาของสหรัฐฯเรื่องฮั้วหุ้นกู้เทศบาล

ผู้พิพากษารัฐบาลกลางกล่าวว่าเมืองฟิลาเดลเฟียและเมืองบัลติมอร์ฟ้องธนาคารยักษ์ใหญ่ทั้ง 8 ได้


สารบัญข่าว

ผู้พิพากษารัฐบาลกลางกล่าวว่าเมืองฟิลาเดลเฟียและเมืองบัลติมอร์ฟ้องธนาคารยักษ์ใหญ่ทั้ง 8 ได้

ยื่นฟ้องธนาคารใหญ่ 8 แห่งสมรู้ร่วมคิด บังคับให้ทางรัฐถิ่นจ่ายดอกเบี้ยสูงเกินจริง

นิวยอร์ค (รอยเตอร์) — ผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางกล่าวในวันจันทร์ว่า เมืองฟิลาเดลเฟียและเมืองบัลติมอร์สามารถยื่นฟ้องธนาคารยักษ์ใหญ่ 8 แห่งได้ฐานมีนัยว่าสมรู้ร่วมคิดกันบังคับให้ทางการรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นจ่ายค่าดอกเบี้ยในอัตราสูงเกินจริงต่อพันธบัตรยอดนิยมอย่างหุ้นกู้เทศบาลซึ่งได้รับการงดเว้นภาษี

เจสซี เฟอร์แมน ผู้พิพากษาเขตของสหรัฐฯในแมนฮัตตันกล่าวว่า เมืองดังกล่าวสามารถดำเนินการเรียกร้องการต่อต้านการผูกขาดในขั้นตอนการยื่นฟ้องเกี่ยวกับข้อเรียกร้องความรับผิดชอบในการขายตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแปรผัน[1] ของธนาคารเหล่านั้น ซึ่งเมื่อครั้งหนึ่งเคยเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ จากปี 2008 ถึงปี 2016

ทางการฟิลาเดลเฟียและบัลติมอร์ระบุว่า การสมรู้ร่วมคิดดังกล่าวได้ทำให้งบประมาณสำหรับโรงพยาบาล, พลังงาน, การประปา, โรงเรียน, การคมนาคม และการอภิบาลสำคัญ ๆ อีกหลายรายการของเทศบาลลดลงไป

ทางด้านจำเลยประกอบด้วยบริษัทในเครือของ ธนาคารแห่งอเมริกา BAC.N, บาร์คลียส์ BARC.L, ซิตี้กรุ๊ป C.N, โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป GS.N, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค JPM.N, มอร์แกน สแตนลีย์ MS.N, รอยัลแบงก์ออฟแคนาดา RY.TO และ เวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค WFC.N

ตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแปรผัน เป็นพันธบัตรระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่โดยปกติมีการกำหนดใหม่เป็นรายสัปดาห์[2] โดยนักลงทุนสามารถถอนพันธบัตรก่อนกำหนดได้ และทางธนาคารจะต้องขายพันธบัตรนั้น ๆ ให้กับนักลงทุนรายอื่นในอัตราที่ต่ำที่สุดที่เป็นไปได้

ทางการฟิลาเดลเฟียและบัลติมอร์ ซึ่งได้ปล่อยตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแปรผันออกเป็นจำนวน 1.67 พันล้านดอลลาร์ และ 261 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ได้กล่าวหาธนาคารในข้างต้นว่า มีการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับพันธบัตรคงคลังและแผนการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย

โดยชี้แจงว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการยับยั้งหน่วงเหนี่ยวการไถ่ถอนพันธบัตร และสร้างโอกาสให้ธนาคารเหล่านั้นได้เรียกเก็บเงินเป็นร้อย ๆ ล้านดอลลาร์จากการขายต่อและจากค่าธรรมเนียมในการ “ไม่ต้องทำอะไรเลย”

นายเฟอร์แมนกล่าวในคำตัดสินยาว 34 หน้าว่า เมืองดังกล่าวได้เสนอ “เหตุผลที่ทำให้เชื่อว่าจำเลยทั้งหลายอยู่ในฐานที่มีแนวโน้มจะมีรายได้จากการมีส่วนร่วมในแผนการกำหนดอัตราดอกเบี้ย และแผนการนี้จะสามารถเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อจำเลยประสานงานกันเท่านั้น”

เฟอร์แมนยังได้กล่าวอีกว่า ธนาคาร 6 แห่งจะต้องเผชิญกับคำร้องต่อการละเมิดสัญญา ทั้งนี้เขาได้ยกฟ้องคำร้องทั้งหมดต่อการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยไม่เป็นธรรม

ธนาคารข้างต้นต่างปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใด ๆ

ไดแอน่า คอร์เตส นักกฎหมายจากฝ่ายกฎหมายแห่งเมืองฟิลาเดลเฟียกล่าวว่า ฝ่ายโจทก์มีความพึงพอใจที่นายเฟอร์แมนยึดถือ คำร้อง “หลัก” ในการต่อต้านการผูกขาด และคำร้องต่อสัญญา

ตลาดตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแปรผันมีมุลค่ากว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2009 แต่ได้หดตัวลงไป การจัดอันดับทั่วโลกของ S&P ได้ประเมินค่าหลักประกันตราสารหนี้ไว้ที่ 1.449 แสนล้านดอลลาร์เมื่อไม่นานมานี้

นี่คือคดี Philadelphia et al v Bank of America Corp et al, U.S. District Court, Southern District of New York, No. 19-01608.

ภาคผนวก

[1] Variable-rate demand obligations

[2] กล่าวคือ มีการปรับอัตราดอกเบี้ยสัปดาห์ต่อสัปดาห์เพื่อให้สอดคล้องกับดัชนีที่ได้กำหนดไว้เป็นตัวอ้างอิง

อ้างอิง

รอยเตอร์

Reporting by Jonathan Stempel in New York; Editing by Marguerita Choy and David Gregorio

ความเห็นผู้ชมทั่วไป