วัคซีนจะช่วยเศรษฐกิจอังกฤษไว้ได้หรือไม่?

บทวิเคราะห์ผลกระทบของวัคซีนที่มีต่อเศรษฐกิจของอังกฤษจาก BBC


สารบัญข่าว

บทวิเคราะห์ผลกระทบของวัคซีนที่มีต่อเศรษฐกิจของอังกฤษจาก BBC

วัคซีนโดยทั่วไปได้ช่วยชีวิตคนไปมากกว่าสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากน้ำสะอาด มีการแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าวัคซีนสามารถชดใช้ค่าใช้จ่ายของมันเองได้ และสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย

วิธีที่ง่ายที่สุดในการจินตนาการถึงผลกระทบของวัคซีนที่ได้รับการรับรองแล้วในแง่ของเศรษฐกิจ ก็คือการจินตนาการถึงการประชุมคณะกรรมการที่เกิดขึ้นในองค์กรบริษัทต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศในขณะนี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารที่เหนื่อยล้าและผู้อำนวยการฝ่ายการเงินจะลงนามในแผนการลงทุนสำหรับปีบัญชีที่จะเริ่มในเดือนเมษายน ปี 2021

พื้นฐานของการคำนวณเหล่านั้นจะเปลี่ยนไป โดยมีโอกาสที่สมเหตุสมผลที่ส่วนใหญ่ของปีนั้นอาจมีลักษณะคล้ายกับสถานการณ์ปกติมากกว่าสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เนื่องจากวัคซีนที่ได้รับการรับรองอย่างน้อยเพียงหนึ่งตัว

มันเป็นการยิง (ฉีด) ที่แขนเพื่อความมั่นใจในระยะกลาง และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดคติในแง่ลบ, การปิดตัวลง และการไม่มีงานทำ

ไม่มีอะไรที่แน่นอน แต่ผู้ที่กำลังวางแผนบนพื้นฐานของความปกติ จะรู้สึกมั่นใจที่จะรับความเสี่ยง ซึ่งจะทำให้ผู้คนยังมีงานทำต่อไปและทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นได้ เห็นได้ชัดว่าวัคซีนที่ได้รับการรับรอง, แจกจ่าย, มีประสิทธิภาพ และถูกใช้งานอย่างเหมาะสมจะลดความจำเป็นในการล็อคดาวน์และข้อจำกัดทางสังคมที่เข้มงวดลงในที่สุด

ในการศึกษาจากคณะงานวิจัยระดับมันสมอง Resolution Foundation ในเดือนมีนาคม ซึ่งได้ทำนายตัวเลขสองหลักที่กระทบต่อเศรษฐกิจและการเงินภาคเอกชนจากการระบาดใหญ่อย่างแม่นยำ เป็นการดีที่สุดที่จะคิดว่าโรคโควิด-19 นั้นติดตามเส้นทางเศรษฐกิจของการแพร่ระบาดของโรคอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก หรือไข้หวัดใหญ่สเปนในปี 1918 – 19 โดยมีทั้งจุดพีคและจุดต่ำ

เราไม่เคยมีวัคซีนเกิดขึ้นในระหว่างการแพร่ระบาดมาก่อน ดังนั้นผลประโยชน์อาจมีมากมายมหาศาล มันอาจเป็นสิ่งที่สามารถเทียบเท่ากับประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกซึ่งใช้มาตรการด้านสาธารณะสุขที่มีประสิทธิภาพ (มากกว่าที่จะเป็นวัคซีน) ในการหลีกเลี่ยงผลกระทบทางการคลังและทางเศรษฐกิจในระยะยาวจากโรคซาร์สในปี 2003 และโรคโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา

กล่าวในอีกนัยหนึ่งก็คือ ในแง่ของเศรษฐกิจ มันสามารถชดเชยการตอบสนองที่ค่อนข้างซบเซาในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดได้

ริชาร์ด ฮิวจ์ ผู้เขียนบทความดังกล่าว ในปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้บริหารของสำนักงานเพื่อความรับผิดชอบด้านงบประมาณ[1] (OBR)

การอนุมัตินี้เป็นการผลักดันชะตากรรมของเศรษฐกิจให้เข้าใกล้กับ “สถานการณ์ที่ดีขึ้น” เล็กน้อยซึ่งได้กำหนดไว้ในการคาดการณ์ของ OBR ในเรื่องเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้อสันนิษฐานเหล่านี้คาดว่าจะมีวัคซีนใช้กันอย่าง “แพร่หลาย” ภายในฤดูใบไม้ผลิ เป็นการนำเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติมากขึ้นในเวลาที่การถูกพักงานถึงกำหนดสิ้นสุดลง ดังนั้นจึงทำให้การว่างงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

ทำไมต้องเสี่ยง?

ข้อควรระวัง 2 ประการ ผลกระทบในระยะสั้นอาจมีผลทั้งสองด้าน ข้อจำกัดต่าง ๆ อาจจะยังคงอยู่และอาจจะเข้มงวดกว่าที่ควรจะเป็น

นอกจากนี้ การเว้นระยะห่างทางสังคมที่สำคัญโดยสมัครใจ — การที่ประชาชนตัดสินใจไม่ออกไปร้านอาหาร, ผับ และร้านค้าเอง — อาจจะดำเนินต่อไปในระดับที่เข้มงวดขึ้นไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิ

ทำไมล่ะ? ก็เพราะว่าตามที่รัฐบาลเองนั้นกำลังแนะนำอยู่ว่า ด้วยการที่เรามีเหล่าอัศวินทางด้านวิทยาศาสตร์และมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว ทำไมจะต้องออกไปเสี่ยงในตอนนี้ด้วย? นอกจากนี้ผู้ที่รับผลประโยชน์โดยตรงจากการฉีดวัคซีนจะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มของผู้สูงอายุและผู้มีความเสี่ยง รวมไปถึงเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นสาธารณะโดยรวม

ความอดทนอดกลั้นนาน 3 เดือนอาจส่งผลกระทบด้านสังคมของเศรษฐกิจในเวลาเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นฐานในด้านการค้าที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและภาคการบริการ

แล้วนอกจากนี้ก็มีข้อเท็จจริงที่ว่าความสำเร็จของโครงการนี้ได้ถูกรวมเข้ากับราคาสินทรัพย์แล้ว ความเบี่ยงเบนหรือความล้มเหลวใด ๆ ที่เป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการจำแนกแจกจ่าย หรือในทางวิทยาศาสตร์ มีความเสี่ยงในการก่อตัวของการดิ่งลงของตลาดหุ้นและราคาที่อยู่อาศัยอยู่ด้วย

นอกจากความเสี่ยงแล้ว การพัฒนา, การอนุมัติรับรอง และการจัดหาได้มาซึ่งวัคซีนที่มีประสิทธิภาพจะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนที่ไม่อาจคำนวนได้ให้กับชีวิตของผู้คน แต่การทำมาหากินก็เช่นกัน ในปีหน้านี้

นี่จะเป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองแล้วเป็นครั้งแรกสำหรับใช้ในมนุษย์กับโคโรนาไวรัสทุกชนิดที่เคยมีมา นอกจากนี้ยังเป็นวัคซีนตัวแรกที่มีให้ใช้ได้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอยู่ และนั้นสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากเกินกว่าที่ธนาคารแห่งอังกฤษและกระทรวงการคลัง[2] จะสามารถจัดหาให้ได้

อ้างอิง

[1]Office for Budget Responsibility

 [2]Her Majesty’s Treasury; พระคลังมหาสมบัติ, กระทรวงการคลังอังกฤษ

BBC

By Faisal Islam

ความเห็นผู้ชมทั่วไป